หน้าเว็บ

สถิติผู้เข้าชม

วันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2555

Beethoven

บีโธเฟน (Ludwig Van Beethoven)

ประวัติ ความเป็นมา
          ลุดวิก แวน บีโธเฟน (Ludwig Van Beethoven) อยู่ด้วย ความยิ่งใหญ่ของเขาไม่ได้ปรากฏอยู่ที่ผลงานการประพันธ์เพลงเท่านั้น แต่ประวัติชีวิตของคนที่ไม่ยอมแพ้แก่โชคชะตาของเขานั้นยิ่งใหญ่และเป็นที่ เล่าขานไม่แพ้ผลงานเพลงอันเป็นอมตะเลยทีเดียว

          เหมือนกับคีตกวีที่ ยิ่งใหญ่หลายคนที่มีเบื้องหลังชีวิตที่ขมขื่น บีโธเฟน เกิดที่กรุงบอนน์ (อดีตเมืองหลวงประเทศเยอรมนีตะวันตก) เมื่อปลายปี ค.ศ.1770 เป็นบุตรของนักร้องประจำราชสำนักแห่งกรุงบอนน์ นามว่า โยฮานน์ (Johann) มารดานาม Maria Magdalena ชีวิตในวัยเด็กของบีโธเฟน นั้นแสนขมขื่น ท่ามกลางความอัตคัด ขัดสนของครอบครัว พ่อนักร้องขี้เมา พยายามปั้นบีโธเฟนให้เป็น "โมสาร์ท สอง" โดยหวังจะให้ทำเงินหาเลี้ยงครอบครัว (บีโธเฟนเกิดหลังโมสาร์ท 15 ปี) พ่อสอนดนตรีบีโธเฟนน้อยวัย 4-5 ขวบ ด้วยการบังคับให้ฝึกหัดบทเรียนเปียโนที่ยาก ซึ่งถ้าเล่นไม่ได้ก็ทำโทษ เป็นที่คาดเดาในภายหลังว่า ที่บีโธเฟนยังรักดนตรีอยู่ได้ก็เพราะภาพลักษณ์ของคุณปู่ซึ่งเป็นนักร้อง ประจำราชสำนักที่ประสบความสำเร็จ

          โยฮานน์พยายามโปรโมตบีโธเฟนน้อย (อายุ 8 ขวบ) ให้เป็นเด็กนักเปียโนมหัศจรรย์อายุ 6 ขวบ แต่ผู้คนไม่ได้ให้ความสนใจนัก พอแผนการไม่ประสบผล โยฮานน์จึงเปลี่ยนจุดหมายให้บีโธเฟนเป็นนักดนตรีอาชีพให้เร็วที่สุด โดยจัดหาคนมาสอนดนตรีเพิ่มเติม อายุ ได้ 11 ขวบได้เข้าทำงานเป็นนักออร์แกน ผู้ช่วยประจำราชสำนัก อัจฉริยภาพของ บีโธเฟนน้อยได้ฉายแววให้เห็น ขณะที่บีโธเฟนทำงานเป็นนักดนตรีประจำราชสำนัก ก็ได้พยายามศึกษาเล่าเรียนดนตรีไปจนมีความสามารถด้านการประพันธ์เพลง ขณะเดียวกันก็พยายามศึกษาหาความรู้และพัฒนาความคิดอ่าน จากพื้นฐานความรู้เพียง ป.4 (Grade 4) ที่ได้เรียนมา เพื่อให้สามารถเข้าสังคมกับปัญญาชนและผู้มีอันจะกิน และเพื่อความก้าวหน้าในอนาคต พออายุได้ 17 ปี ได้รับการสนับสนุนจากผู้หลักผู้ใหญ่และ เพื่อนผู้มีอันจะกิน ให้มีโอกาสไปเยือนกรุงเวียนนาเป็นครั้งแรก มีคำบอกเล่าว่า บีโธเฟนได้แสดงฝีมือด้านเปียโนสดให้โมสาร์ทฟัง จนโมสาร์ทบอกกับคนรอบข้างให้จับตาดูคนนี้ไว้ และว่า วันหนึ่งเขา จะสร้างผลงานให้คนทั้งโลกกล่าวถึง บีโธเฟนอยู่ที่เวียนนาได้ไม่ถึง 2 อาทิตย์ก็ต้องรีบเดินทางกลับกรุงบอนน์เพราะได้รับข่าวว่าแม่ป่วยหนัก หลังจากที่แม่สิ้นชีวิตลง เขาต้องทำงานหนักเพื่อดูแลครอบครัว ซึ่งมีทั้งพ่อและน้องอีก 2 คน

          ปี ค.ศ.1792 ระหว่างทางที่โยเซฟ ไฮเดน (Joseph Haydn) ปรมาจารย์ทางดนตรีที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งยุค เดินทางกลับจากอังกฤษ ได้แวะเยี่ยมเยียนราชสำนักกรุงบอนน์ เป็นโอกาสที่บีโธเฟน ได้เข้าพบ และโชว์ผลงานการประพันธ์ดนตรี ไฮเดนทึ่งในความสามารถและเห็นแววอัจฉริยะของบีโธเฟน ได้เสนอให้ไปเรียนดนตรีที่กรุงเวียนนากับเขา ซึ่งแผนการนี้ก็เป็นจริงจากการสนับสนุนของหลายฝ่ายเมื่อปลายปี

          สัมพันธ ภาพระหว่างอาจารย์และศิษย์ต่างวัยเป็นไปได้ไม่ดีนัก ด้วยศิษย์เป็นหนุ่มไฟแรงอารมณ์ร้อน หยิ่ง และดื้อรั้น ตัวบีโธเฟนเองก็ไม่พอใจการสอนของไฮเดน แต่ก็ยังเกรงใจอาจารย์ผู้อาวุโส เขาจึงแอบย่องไปเรียนกับนักดนตรีผู้มีชื่อเสียงหลายคน โดยระหว่างนั้น บีโธเฟนเองก็มีชื่อเสียงโด่งดังในฐานะนักเปียโนที่มีความสามารถด้านเปียโนสด ได้เก่งที่สุดแห่งยุค ต่อจากโมสาร์ท ซึ่งสิ้นชีวิตไปแล้ว ชื่อเสียงและความสามารถในการเล่นเปียโนของ บีโธเฟน ทำให้ฐานะทางการเงินดีขึ้น แต่ เขายังไม่ได้แสดงผลงานเพลงออกสู่สาธารณะ เพราะอยู่ระหว่างฝึกวิทยาศิลป์ หลังจากจบการศึกษาดนตรีกับอาจารย์ ไฮเดนและอื่นๆ ในปี 1795 เขาได้แสดงผลงานเพลงและเริ่มสร้างชื่อเสียงในฐานะนักประพันธ์ดนตรีอย่างเต็ม ตัว ผลงานเพลงยุคแรกของบีโธเฟน จะมีรูปแบบคล้ายคลึงกับดนตรีของไฮเดน และโมสาร์ท แต่ก็ยังแฝงความเป็นบีโธเฟนอยู่ด้วย และได้รับการยอมรับจากสาธารณชนอย่างรวดเร็ว

          ผลงานช่วงนี้ของบีโธเฟน ที่น่าสนใจ ได้แก่ เปียโนทรีโอ 1 เปียโนโซนาตา 2 เปียโนโซนาตา 7 เปียโนโซนาตา 13 (Pathetique) เป็นต้น

          บีโธเฟนเป็นคนที่มีความทะเยอ ทะยานสูง หยิ่ง เจ้าอารมณ์ และรักเสรี ภาพเป็นชีวิตจิตใจ สาเหตุอาจมาจากความเก็บกดจากสภาพแวดล้อมในวัยเด็ก และบีโธเฟนมีชีวิตอยู่ในช่วงเดียวกับนโปเลียน เชื่อว่าเขาได้รับอิทธิพลจากเรื่องราวของนโปเลียนเป็นอย่างมาก เขามีแนวความคิดเป็นนักปฏิวัติทั้งในด้านดนตรีและความคิดทางสังคม เขามักได้รับการตำหนิจากปรมาจารย์อาวุโส ว่า แต่งเพลงแหกกฎเกณฑ์ทางดนตรีและออกนอกรีตนอกรอย บีโธเฟนไม่ฟังคำตำหนิเหล่านั้น ยังคงพัฒนาดนตรีไปตามแนวทางของตนอย่างเอาจริงเอาจัง โดยมีความใฝ่ฝันจะสร้างผลงานดนตรีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเท่าที่มนุษย์พึงสร้าง ได้ สิ่งที่บีโธเฟนกำลังทำอยู่คือการสอดแทรก ความรู้สึกนึกคิดและอารมณ์ของตนลงในดนตรี ซึ่งถือเป็นสิ่งผิดวิสัยในยุคนั้น (ที่เรียกว่า Classical period) ดนตรีขั้นสูงคือรูปแบบทางศิลปที่สมบูรณ์ สูงส่ง และอยู่เหนือความเป็นมนุษย์ แต่สิ่งที่บีโธเฟนกำลังทำอยู่นั้นกลับเป็นการพลิกโฉมหน้าของโลกศิลปการดนตรี และทำให้นักวิชาการด้านดนตรี ต้องตั้งชื่อยุคของดนตรีขึ้นใหม่ ที่เรียกว่า ยุคโรแมนติก (Romantic Period)

          การปฏิบัติตัวในสังคม บีโธเฟน ปฏิเสธการเป็นนักดนตรีในฐานะคนรับใช้ ของผู้มีอันจะกิน ทุกครั้งที่เขารับจ้างไปแสดงดนตรีในสถานที่ส่วนตัว เขาจะต้องได้รับการปฏิบัติดังเช่นแขกผู้ได้รับเชิญ ได้ร่วมโต๊ะอาหารกับเจ้าบ้าน ค่าจ้าง คือ สิ่งตอบแทนด้วยมิตรภาพ เขาจะแสดงความไม่พอใจออกมาอย่างไม่เกรงใจ ถ้าไม่ได้รับการปฏิบัติต่อเขาอย่างเหมาะสม

          บีโธเฟนประสบความสำเร็จใน ด้านการงานได้ไม่นาน เคราะห์กรรมก็กลับมาเยี่ยมเยือน เขาได้รับของขวัญส่งท้ายศตวรรษเก่าเข้าสู่ศตวรรษใหม่เป็นอาการหูหนวก เป็นเคราะห์กรรมที่น่าเกลียดยิ่ง สำหรับนักดนตรีที่กำลังฉายแววความยิ่งใหญ่

          หลัง จากที่บีโธเฟนตระหนักว่า อาการหูหนวกของเขาไม่สามารถจะรักษาได้และมีอาการรุนแรงจนถึงหนวกสนิท วันที่ 6 ตุลาคม ปี ค.ศ.1802 เขาได้เขียนจดหมายกึ่งลาตายกึ่งพินัยกรรม ถึงน้องชายทั้งสองของเขา แต่อีก 4 วันต่อมาก็เขียนอีกฉบับมีใจความล้มเลิกความคิด บีโธเฟนค่อยๆ รักษาแผลในใจ ที่เกิดจากเคราะห์กรรมที่ได้เผชิญ จนจิตใจเขาแข็งแกร่งกว่าที่เคย ดนตรีของเขาในช่วงนั้นจึงแสดงถึงเรื่องราวของฮีโร่ ความรู้สึกต่อชัยชนะ ธรรมชนะอธรรม และความยิ่งใหญ่ของความเป็นมนุษย์ ซึ่งก็ตรงกับชีวิตจริงของเขาที่แต่งเพลงสู้กับหูหนวก และยังได้ผลงานที่ยอดเยี่ยมฝากไว้ให้ชาวโลกสมความตั้งใจ

          ผลงานที่น่า สนใจในช่วงนี้ได้แก่ ซิมโฟนีหมายเลข 3 (Eroica) ซึ่งเดิม บีโธเฟนคิดจะอุทิศให้นโปเลียน แต่ภายหลังได้เปลี่ยนใจ เพราะผิดหวังที่นโปเลียนมีความทะเยอทะยานเกินขอบเขต ซิมโฟนีหมายเลข 5 ยอดนิยมตลอดกาล ซิมโฟนีหมายเลข 6 (Pastorale) ไวโอลิน คอนแซร์โต ในบันไดเสียง ดีเมเจอร์ และเปียโนคอนแซร์โต หมายเลข 5 (Emperor) เป็นต้น

          แม้ บีโธเฟนจะประสบความสำเร็จ ด้านดนตรีอย่างสูงสุด แต่ในเรื่องความรักเขานั้นห่างไกลนัก อกหักซ้ำซากเป็นเรื่องปกติ ด้วยความไม่คงเส้นคงวาเรื่องอารมณ์ เอาใจยาก และเข้าใจยาก ทำให้ สาวๆ ไม่กล้าเข้ามาใช้ชีวิตร่วมด้วย ถึงแม้ชีวิตจริงดูจะห่างจากความรักที่เป็นรูปธรรม แต่เขากลับได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งดนตรีโรแมนติก ท่านสามารถพิสูจน์ได้ ด้วยการฟังเพลง Piano Sonata หมายเลข 14 27 No.2 ("Moonlight") ท่อนช้า (Adagio Sostenuto) และเพลงเปียโนยอดนิยมตลอดกาล Fur Elise เป็นต้น

          ช่วง บั้นปลายของชีวิต พร้อมกับอาการหูหนวกสนิท เขากลายเป็นคนแก่อารมณ์ร้าย มีปัญหาทะเลาะเบาะแว้งกับ คนรอบข้างรวมทั้งน้องชายของเขาเอง ช่วงเวลานี้เขาผลิตผลงานออกมาไม่มากแต่ถือเป็นผลงานที่สำคัญยิ่ง เป็นดนตรีที่พัฒนาไปสู่จุดสูงสุดของความเป็นบีโธเฟนเต็มไปด้วยพลังความยิ่ง ใหญ่ ความซับซ้อนที่ยากจะหยั่งถึง เป็นดนตรี ที่ดังกระหึ่มอยู่ในตัวตนโดยปราศจากเสียงรบกวนใดๆ จากภายนอก ดนตรีใน ช่วงสุดท้ายของบีโธเฟน ที่สำคัญก็ได้แก่ ซิมโฟนีหมายเลข 9 ("Choral Symphony") เพลงสรรเสริญพระเจ้า Solemn Mass in D และ String Quartet หมายเลขท้ายๆ (127, 130-133, 135) เป็นต้น
          ปิดฉากชีวิตคีตกวีที่ยิ่ง ใหญ่ในวันที่ 26 มีนาคม ค.ศ.1827 ที่กรุงเวียนนาด้วยโรคตับ ซึ่งป่วยยืดเยื้อมาระยะหนึ่ง พิธีศพที่จัดขึ้นให้แก่เขานั้นยิ่งใหญ่ มีผู้คนร่วมงานนับหมื่นคน แม้ร่างกายเขาได้จากโลกนี้ไปแล้วกว่า 170 ปี แต่ผู้คนบนโลกในยุคสมัยต่อมาก็ยังคงเคารพ และยกย่องมิรู้ลืม เขายังคงเป็นสัญลักษณ์คีตกวีของโลกตลอดกาล และผลงานเพลงอันไพเราะที่เขาได้สรรค์สร้างไว้ก็ยังคงอยู่คู่โลกไปอีกนานเท่า นาน ลุดวิก แวน บีโธเฟน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น