หน้าเว็บ

สถิติผู้เข้าชม

วันอังคารที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2555

April Fool's Day

 

ประวัติความเป็นมา วันโกหก April Fool's Day



         มีตำนานเล่ากันมาว่า เมื่อสมัยก่อน พวกฝรั่งเขาก็มีวันขึ้นปีใหม่ใกล้ ๆ บ้านเรานี่แหละ คือเดือนเมษายน แต่แล้วทางการมีการเปลี่ยนวันปีใหม่เป็นวันที่ 1 มกราคม บังเอิญยังมีอีกหลายคนที่ไม่รู้ ก็ยังคงส่ง ส.ค.ส. ให้กันในวันที่ 1 เมษายน พวกเขาก็เลยเรียกพวกนี้ว่าพวก "เมษาหน้าโง่" แล้วก็มีการแกล้งกันโดยไม่บอกความจริงเพื่อความสนุกสนาน จนกลายเป็นเทศกาลที่รู้จักและเล่นกันในหลายประเทศทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส สกอตแลนด์ อิตาลี สเปน โปรตุเกส สวีเดน เยอรมนี นอร์เวย์ ญี่ปุ่น ฯลฯ โดยแต่ละประเทศอาจมีวันโกหก ไม่ตรงกับวันที่ 1 เมษายน เสมอไป
         อย่างไรก็ตาม มีหลายทฤษฎีเกี่ยวกับความเป็นมาของวันโกหก April Fool's Day บ้างก็ระบุว่า เริ่มจากพวกโรมันโบราณ มีเทศกาลที่เรียกว่า "Cerealia" จัดในช่วงต้นเดือนเมษายน เรื่องเล่านี้มีว่า เทพเจ้าชื่อ Ceres ทรงได้ยินเสียงสะท้อนของพระธิดา Prosperpina ตะโกนมาว่า เธอถูกจับตัวไปอยู่ใต้ผืนดินโดยเทพพลูโต Ceres จึงตามเสียงลูกสาวไป และได้พบความจริงที่ว่า การตามเสียงสะท้อนเป็นเรื่องที่ไม่ฉลาดเลย เหมือนว่าพระองค์ทรงถูกหลอกนั่นเอง

        
นอกจากนี้ ยังมีอีกทฤษฎีที่เชื่อว่า วันโกหก April Fool's Day เกิดจากช่วงฤดูใบไม้ผลิ ที่เล่าสืบต่อกันมาว่า ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ หนุ่มสาวจะออกตามหาความรัก และเป็นช่วงที่พืชเจริญเติบโต ในขณะที่สัตว์ต่าง ๆ ก็หาคู่ด้วย กลุ่มนักบวชจึงพยายามหลอกล่อวิญญาณของความชั่วร้ายอย่างสุดความสามารถ เพื่อไม่ให้มาขัดขวางความรักของทั้งหนุ่มสาว พืช และสัตว์ ดังนั้น จึงเป็นเดือนที่นักบวชจะต้องสวดเพื่อหลอกเหล่าวิญญาณร้ายนั่นเอง

วิธีการเล่นในวัน April Fool's Day คือ...
         วันที่ 1 เมษายน ซึ่งเป็นวัน April's Fool Day เป็นวันที่คนแกล้งหลอกกันด้วยการแต่งเรื่องอะไรก็ได้มาหลอกให้คนอื่นหลงเชื่อ จากนั้นค่อยเฉลยในตอนท้าย ซึ่งเรื่องที่เอามาหลอกนั้นจะต้องไม่ทำให้อีกฝ่ายถึงกับเลือดตกยางออก และคนที่ถูกหลอกจะต้องไม่โกรธด้วย เพราะถือว่าวันนี้เป็นวันพิเศษ ยกเว้นให้หนึ่งวัน

อ้างอิง: http://hilight.kapook.com/view/22356

วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ความหมายของ Code ในภาษา HTML

1. <META name="ABSTRACT" content="ใส่สาระสำคัญเนื้อหาเอกสาร">

2. <META NAME="ROBOT" CONTENT="ต้องกำหนดค่า">

3. <META HTTP-EQUIV="REFRESH" CONTENT="2;URL=หน้าที่ต้องการให้รีไดเร็คไป">

4. <META name="Distribution" content="ระดับการเผยแพร่">

5. <META NAME="LANGUAGE" CONTENT="ภาษาที่ใช้ในเว็บ">


อ้างอิง: http://www.clickmedesign.com/article/meta-tags.html

Speed Test


taeyeon


song: Take a bow

วันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2555

วิวัฒนาการดนตรีไทยสมัยอยุธยา




ดนตรีไทยสมัยอยุธยา

  
          เรื่องของศิลปะโดยเฉพาะการดนตรีจะเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้า ก็ในเวลาที่ บ้านเมืองมีความสงบสุข ประชาชนพลเมืองอยู่ดีกินดีปราศจากศึกสงคราม แต่ว่าตั้งแต่สมัยที่อาณาจักรสุโขทัยได้มารวมกับอยุธยานี้ บ้านเมืองก็มีศึกสงครามภายนอกและสงครามภายในมีอยู่เสมอ เพราะฉะนั้นการดนตรีต่างๆ จึงมิได้เจริญก้าวหน้าขึ้นกว่าเดิม สิ่งที่มีอยู่เดิมอย่างไร และที่รับมาจากสุโขทัยอย่างไรก็คงสภาพเช่นเดิมนั้น แม้แต่วงปี่พาทย์เครื่องห้าก็คงมีเครื่องดนตรีอยู่เท่าเดิม คือ ปี่ใน ฆ้องวง ตะโพน กลองทัดลูกเดียว และฉิ่ง การที่ปี่พาทย์เครื่องห้ามีอยู่เพียงเท่านี้ โดยไม่มีระนาดนั้นได้ใช้กันมาตลอด ไม่ว่าจะเป็นการบรรเลงประกอบโขน ละครหรืองานพิธีใดๆ และปรากฏว่าใช้กันมาถึงสมัยแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ดังได้ปรากฏตามจดหมายเหตุของ มองซิเออร์ เดอ ลา ลูแบร์ เอกอัครราชทูตพิเศษของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ พระเจ้ากรุงฝรั่งเศส ผู้เข้ามาทูลเกล้าฯ ถวายพระราชสาส์นในกรุงสยามที่บันทึกไว้เมื่อพุทธศักราช ๒๒๓๑ ในจดหมายเหตุนี้ ลาลูแบร์ได้บันทึกไว้อย่างละเอียดลออว่า เครื่องบรรเลงในวงดนตรีมีอะไรบ้าง รูปร่างเป็นอย่างไร (ในสายตาฝรั่ง) ก็บันทึกไว้อย่างเรียบร้อย แต่ก็ไม่ปรากฏมีระนาดอยู่ในวงเลย จะว่าลาลูแบร์ไม่เห็นก็คงจะเป็นไปไม่ได้ เพราะว่าระนาดนั้นไม่ใช่ของเล็ก และการตั้งวงปี่พาทย์ระนาดจะต้องตั้งข้างหน้าวงเสมอ เมื่อลาลูแบร์ไม่ได้บันทึกเรื่องระนาดลงไว้จึงเชื่อได้ว่า วงปี่พาทย์สมัยนั้นคงจะยังไม่มีระนาดเป็นแน่ แม้คำพากย์ไหว้ครูหนังใหญ่ของเก่าที่เรียกกันว่า “พากย์สามตระ”



          คำพากย์สามตระทั้งสองบทนี้ไม่มีระนาดทั้งนั้น หลักฐานที่จะอ้างอีกอย่างหนึ่งที่ว่าไม่มีระนาดก็คือ ภาพวงดนตรีบนลายตู้ไม้จำหลักเรื่องวิธูรชาดก สมัยอยุธยา ซึ่งเวลานี้อยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร ภาพวงดนตรีภาพนี้ก็มี แต่ฆ้องวงไม่มีระนาด วงปี่พาทย์เครื่องห้าเพิ่งจะมามีระนาดเอาก็คงจะตอนปลายสมัยอยุธยา ซึ่งไทยเราจะคิดขึ้นเองหรือว่าได้แบบมาจากมอญก็ไม่ทราบ แต่ถึงแม้มีระนาดเพิ่มขึ้นอีกอย่างหนึ่งก็ยังคงเรียกว่า ปี่พาทย์เครื่องห้าอยู่เช่นเดิม เพราะเห็นว่าฉิ่งเป็นเครื่องประกอบจังหวะที่เล็ก จึงไม่นับ หรือว่ายังจะนับถือคำว่า “ห้า” ซึ่งมาจาก “ปัญจดุริยางค์” ของอินเดียซึ่งเป็นต้นกำเนิดก็ได้

มโหรี 



          ในสมัยอยุธยาได้มีวงดนตรีเกิดขึ้นอีกวงหนึ่ง คือ วงดนตรีที่ในสมัยปัจจุบันเราเรียกว่า “มโหรี” วงมโหรีเป็นวงดนตรีที่ผู้หญิงเป็นผู้บรรเลง สำหรับขับกล่อมถวายพระมหากษัตริย์ให้ทรงพระสำราญ วงมโหรีครั้งแรกมีผู้บรรเลงเพียง ๔ คน เท่านั้น คือ คนดีดพิณที่เรียกว่ากระจับปี่คนหนึ่ง สีซอสามสายคนหนึ่ง ตีทับ (คือโทน) คนหนึ่ง กับคนร้องตีกรับพวงด้วยคนหนึ่ง ต่อมาจึงได้เพิ่มคนบรรเลงและเครื่องดนตรีขึ้นอีก ๒ อย่าง คือ รำมะนาให้ตีคู่กับโทนคนหนึ่ง กับคนเป่าขลุ่ยอีกคนหนึ่ง วงมโหรีตอนนี้ จึงมีอยู่ ๖ คน ภายหลังจึงได้เพิ่มฉิ่งขึ้นอีกอย่างหนึ่ง คงจะให้คนร้องตีแทนกรับ 
          สมัยต่อมาได้นำเอาจะเข้าซึ่งเป็นเครื่องดนตรีของมอญเข้ากับประสมแทน กระจับปี่เพราะเป็นสิ่งที่บรรเลงทำนองได้ละเอียดลออกว่า เสียงก็ไพเราะกว่า และเป็นสิ่งที่วางกับพื้นราบดีดได้ถนัดกว่ากระจับปี่ วงมโหรีได้เป็นมาดังนี้ตลอดสมัยอยุธยา








วง มโหรีโบราณ เครื่องสี่






วงมโหรีโบราณเครื่องหก
วงมโหรีโบราณเครื่องหก



วงเครื่องสาย


      เครื่องดนตรีจำพวกเครื่องสายนั้นในสมัยอยุธยา ได้มีอยู่แล้วหลายอย่าง สมัยอยุธยาคงจะมีผู้เล่นดนตรีจำพวกซอ ขลุ่ย อยู่เป็นอันมาก และอาจจะเล่นกันอย่างแพร่หลายจนความสนุกสนานเพลิดเพลินนั้น ทำให้เล่นกันเกินขอบเขตเข้าไปจนถึงใกล้พระราชฐาน จึงถึงกับมีบทบัญญัติกำหนดโทษไว้ในกฎมณเฑียรบาลในตอนหนึ่ง


   

          เครื่อง ดนตรีต่างๆ ที่ได้ระบุมาในกฎมณเฑียรบาลนี้ นอกจากปี่ซึ่งอยู่ในวงปี่พาทย์และกระจับปี่ในวงมโหรีแล้ว ก็ล้วนแต่เป็นสิ่งที่อยู่ในวงเครื่องสายทั้งสิ้น คือ มีซอ ขลุ่ย จะเข้ และโทนทับ ส่วนซอนั้นจะเป็นซอสามสายอย่างวงมโหรี หรือจะเป็นซอด้วงซออู้อย่างที่เราบรรเลงผสมอยู่ในวงเครื่องสายก็ไม่ทราบได้ แต่เท่าที่พิจารณาตามสภาพการณ์ซึ่งเล่นกันมากมายแพร่หลายถึงต้องบัญญัติไว้ เป็นกฎหมายห้ามกันอย่างนี้ คงต้องเป็นของที่ค่อนข้างจะเล่นง่ายและหาง่าย จึงเข้าใจว่าซอที่ระบุในกฏมณเฑียรบาลนี้จะเป็นซอด้วงซออู้ ที่บัญญัติไว้ว่า “ซอ” เฉย ๆ ก็เพื่อให้คลุมไปถึงซอสามสายและซออื่นๆที่จะมีผู้คิดสร้างเลี่ยงกฎหมายในภาย หลังด้วยถ้าเป็นอย่างนี้วงเครื่องสายไทยในสมัยอยุธยาก็มีพร้อมบริบูรณ์อยู่ แล้ว คือ มีซอด้วง ซออู้ จะเข้ ขลุ่ยเป็นเครื่องบรรเลงทำนอง โทน ทับ และฉิ่งเป็นเครื่องบรรเลงประกอบจังหวะ ส่วนขลุ่ยก็คงจะมีแต่ขลุ่ยเลาขนาดกลาง ซึ่งเราเรียกกันในสมัยนี้ว่า “ขลุ่ยเพียงออ” เลาเดียว “ขลุ่ยหลิบ” คือขลุ่ยขนาดเล็กมีเสียงสูงนั้นยังไม่มี แต่ “โทนทับ” นั้นเป็นการเรียกทับศัพท์ เพราะทับคือโทน โทนก็คือทับ จึงเห็นได้ว่าเวลานั้นเครื่องกำกับจังหวะมีแต่โทนคือทับอย่างเดียว ยังไม่มีรำมะนามาผสม ส่วนชื่อวงที่มีเครื่องสายผสมนี้คงจะไม่เรียกว่า วงเครื่องสาย แต่อาจจะเรียกว่า “ดนตรี” ก็ได้ เพราะในกฎมณเฑียรบาลนั่นเองแยกเรียกมโหรีกับดนตรีเป็นคนละอย่าง กฎมณเฑียรบาลที่ว่านั้นคือ ตอนซึ่งว่าด้วยการพิธีตรองเปรียงที่กำหนดเรือต่างๆ มีอยู่ตอนหนึ่งว่า

“เรือปลาลูกขุนเฝ้า น่าเรือเบญจา เรือจะเข้แนมทั้งสองข้าง ซ้ายดนตรี ขวามโหรีฯ”




Image      Image



          คำว่า “ดนตรี” ในที่นี้ย่อมเหมาะที่จะเรียกชื่อวงเครื่องสายยิ่งกว่าวงอื่นใด เพราะคำว่า “ดนตรี” ก็แปลตรงอยู่ว่า “ผู้มีสาย” 
          เท่าที่ได้รวบรวมกล่าวมาแล้ว ย่อมเป็นที่แน่นอนว่า ในสมัยอยุธยานั้นมีเครื่องดนตรีครบทั้ง ๓ ประเภท คือ ปี่พาทย์ มโหรี และเครื่องสาย

วิวัฒนาการดนตรีไทยสมัยสุโขทัย





          การดนตรีไทยสมัยสุโขทัยมีปรากฎหลักฐานสำคัญใน  "หลัก ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง หลักที่ 1"  และหนังสือวรรณคดีเรื่อง "ไตรภูมิพระร่วง"  พระราชนิพนธ์ในพระมหาธรรมราชาลิไท  โดยข้อความสำคัญที่เกี่ยวกับดนตรีไทยจากหลักฐานทั้งสองอย่างได้กล่าวถึง เครื่องดนตรีไทยและการ
บรรเลงเป็นวงดนตรีไทยไว้อย่างชัดเจนทั้ง "เสียงพาทย์" กับ  "เสียงพิณ"  ซึ่งหมายถึง วงปี่พาทย์ และเครื่องดีดเครื่องสีที่มีพิณเป็นหลัก
          ดังนั้น  จากหลักฐานชิ้นสำคัญดังที่กล่าวมา  ทำให้ทราบว่าเครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงเป็นวงตามแบบแผนในสมัยสุโขทัยนั้น  มีรายละเอียดดังต่อไปนี้



          วงแตร สังข์  เป็นเครื่องประโคมประกอบพระเกียรติยศของพระมหากษัตริย์ในพระราชพิธีสำคัญ ต่างๆ  ประกอบไปด้วย  สังข์  แตรยาว  หรือเรียกว่า  แตรฝรั่ง  แตรงอน  ปี่ไฉน  กลองชนะ  บัณเฑาว์และมโหรทึก



          วงปี่พาทย์   คือ วงดนตรีที่ประกอบไปด้วยเครื่องตีและเครื่องเป่าและถือว่าเป็นวงดนตรีสำคัญ ของการดนตรีไทย  โดยวงปี่พาทย์ในสมัยสุโขทัย  เรียกว่า  "วงปี่พาทย์เครื่องห้า"  ได้รับอิทธิพลมาจากวงดนตรีที่มีชื่อว่า  "ปัญจดุริยางค์"  ของอินเดีย  ซึ่งประกอบด้วยเครื่องตีและเครื่องเป่าที่ใช้ในการบรรเลง 5 อย่าง ได้แก่
     -  เครื่องที่มีรูกลวงภายในเป็นเครื่องเป่า
     -  เครื่องขึ้นหนังหน้าเดียว
     -  เครื่องขึ้นหนังสองหน้า
     -  เครื่องหุ้มหนังรอบตัว
     -  เครื่องที่เป็นแท่งทึบกระทบกันเป็นเสียง
     โดยเครื่องดนตรีที่ประกอบในวงปี่พาทย์เครื่องห้าของไทยนั้น  เป็นการนำเอาเครื่องดนตรีที่มีแต่เดิมแล้วมาผสมกันเพื่อให้ได้ลักษณะแบบแผน เช่นเดียวกับปัญจดุริยางค์ของอินเดียนั่นคือ  ปี่ใน  ฆ้องวง  ตะโพน  กลองทัด  ฉิ่ง  ซึ่งทั้งวงแตรสังข์และวงปี่พาทย์เครื่องห้าล้วนแล้วแต่อยู่ใน  "เสียงพาทย์"  ดังปรากฎในหลักศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงและไตรภูมิพระร่วง
          ส่วน  "เสียงพิณ"  ที่หมายถึงเครื่องดนตรีประเภทสายและสีในสมัยสุโขทัย ก็คือ



          พิณ  เป็นเครื่องดนตรีที่มีสายและดีดให้เป็นเสียง  ซึ่งพิณในสมัยสุโขทัยมีรูปร่างเหมือนกระจับปี่ในปัจจุบัน
          นอกจากพิณที่มีลักษณะดังกล่าวแล้ว  พิณน้ำเต้า (จากเขมร) และพิณเพี๊ยะ (ส่วนมากนิยมเล่นทางภาคเหนือ)  ก็นับเป็นเครื่องดนตรีประเภทสายที่มีอยู่แล้วในสมัยสุโขทัย



          ซอ  ในสมัยสุโขทัยจะมีทั้งซอสามสาย  ซอด้วงและซออู้

เพลง Ten Pretty Girls

เพลง  Ten Pretty  Girls

(สิบสาวน้อย)

เพลงประจำชาติประเทศสหรัฐอเมริกา


เนื้อเพลง


          แตะหน้า  แตะข้าง  ไขว้  ก้าว  ชิด
          แตะหน้า  แตะข้าง  ไขว้  ก้าว  ชิด
          เดินหนึ่ง  เดินสอง  เดินสาม  เดินสี่
          แตหน้า  แตะหลัง  หมุนหนึ่ง  สอง  สาม

วิธีปฏิบัติ


รอบที่  1  เริ่มต้นที่เท้าซ้าย


  1. ใช้ปลายเท้าซ้ายแตะไปข้างหน้า 1 ครั้ง แตะไปด้านข้าง 1 ครั้ง  ไขว้เท้าซ้ายไปด้านหลังเท้าขวา  แล้วชิดเท้า (ทำซ้ำ 1 รอบ แต่เปลี่ยนเป็นเริ่มต้นด้วยเท้าขวา)
  2. เดินไปข้างหน้าตามจังหวะเพลง  4  ก้าว
  3. ใช้ปลายเท้าซ้ายแตะไปข้างหน้า 1 ครั้ง  แตะไปข้างหลัง 1 ครั้ง  แล้วหมุนตัว 180 องศา ไปทางด้านขวา 3 จังหวะ

รอบที่  2  เริ่มต้นที่เท้าขวา


  1. ใช้ปลายเท้าขวาแตะไปข้างหน้า 1 ครั้ง แตะไปด้านข้าง 1 ครั้ง  ไขว้เท้าขวาไปด้านหลังเท้าขวา  แล้วชิดเท้า  (ทำซ้ำ 1 รอบ แต่เปลี่ยนเป็นเริ่มต้นด้วยเท้าซ้าย)
  2. เดินไปข้างหน้าตามจังหวะเพลง  4  ก้าว
  3. ใช้ปลายเท้าขวาแตะไปข้างหน้า 1 ครั้ง  แตะไปข้างหลัง 1 ครั้ง  แล้วหมุนตัว 180 องศา ไปทางด้านซ้าย 3 จังหวะ

พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ไทยสมันรัตนโกสินทร์ตอนต้น

การบริหารราชการแผ่นดินในเขตราชธานี




กรมมหาดไทย


          มีอัครมหาเสนาบดีตำแหน่งสมุหนายกเป็นผู้บังคับบัญชา  ดูแลรับผิดชอบ  ฝ่ายพลเรือนทั่วไป  และควบคุมหัวเมืองฝ่ายเหนือทั้ังด้านการทหาร  และพลเรือน


กรมกลาโหม


          มีอัครมหาเสนาบดีตำแหน่งสมุหกลาโหมเป็นผู้บังคับบัญชา  ดูแลรับผิดชอบฝ่ายการทหารทั่วไป  และควบคุมดูแลหัวเมืองฝ่ายใต้ทั้งหมด


การบริหารราชการแผ่นดินในส่วนหัวเมือง


หัวเมืองชั้นใน



          เป็นหัวเมืองที่อยู่ไม่ห่างจากราชธานี  มีฐานะเป็นหัวเมืองจัตวา


หัวเมืองช้ันนอก


          เป็นหัวเมืองที่อยู่ไกลจากราชธานี  แบ่งออกเป็น  หัวเมืองเอก  โท  และตรี


หัวเมืองประเทศราช


          เป็นหัวเมืองต่างชาติต่างภาษาที่อยู่ตามแนวชายแดน  ต้องถวายต้นไม้เงิน  ต้นไม้ทอง  และเครื่องราชบรรณาการต่อพระมหากษัตริย์ที่รัตนโกสินทร์กำหนด  3  ปีต่อครั้ง

Memory (기억)


song: Memory (기억)

นิ้วกลม



          สราวุธ เฮ้งสวัสดิ์ (ชื่อเล่น: เอ๋) หรือ นิ้วกลม เกิดเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2521 เป็นครีเอทีฟโฆษณา ผู้กำกับโฆษณา นักเขียนชาวไทย มีผลงานสร้างชื่ออย่าง โตเกียว ไม่มีขา
          ชื่อนิ้วกลม เริ่มจากตอนที่เขียนเริ่มใช้อินเทอร์เน็ต ในเว็บบอร์ดคณะ ที่เขามักชอบเข้าไปตั้งกระทู้เห็นคนอื่นมีนามจอ (นามปากกาที่ใช้ในจอคอมพิวเตอร์) อย่าง “ตัวกลม” จึงเริ่มมองดูนิ้วตัวเอง แล้วตั้งนามจอว่า "นิ้วกลม" และจึงใช้นามปากกานี้มาอย่างต่อเนื่อง
          นิ้วกลมศึกษาที่โรงเรียนเซนต์จอห์น จากนั้นศึกษาที่โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) และศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภาควิชาการออกแบบอุตสาหกรรม ในช่วงเรียนปี 5 เขากับเพื่อนอีก 7 คน ใช้ชื่อว่า “dim” ทำหนังสือทำมือไปเสนอ กระทั่งได้เขียนคอลัมน์ E=iq2 และงานเขียนต่าง ๆ ที่เป็นลักษณะของสนามทดลองสมมติฐาน เช่น การเขียนกลับหลัง การเขียนด้วยตัวพยัญชนะและรูปแบบที่ไม่คุ้นชิน
          หลังจากศึกษาจบเข้าฝึกงานที่ลีโอเบอร์เนตต์ บริษัททางด้านโฆษณา เข้าเรียนเพิ่มเติมการผลิตสื่อโฆษณาของสมาคมผู้กำกับศิลป์บางกอก (B.A.D. Bangkok Art Directors) ผลงานของเขาได้รับรางวัลชนะเลิศในหมู่นักเรียน B.A.D. โดยในการแข่งขันออกแบบโฆษณาสิ่งพิมพ์เพื่อรณรงค์ให้ประเทศไทยปลอดจากคอรัปชั่น โดยเขาประกวดโดยการส่งงานที่เป็นกุญแจรถบีเอ็มดับเบิลยูกับกระดาษพับที่มีข้อความว่า “สวัสดีคณะกรรมการ Junior B.A.D. Awards ทุกท่านครับ เห็นว่าพวกท่านทำงานกันหนัก อยากให้พวกท่านได้นั่งรถสบายๆ จึงส่งรถคันนี้มาเป็นของกำนัล ยังไงตอนให้คะแนนก็ช่วยพิจารณางานชิ้นนี้ของผมเป็นพิเศษหน่อยนะครับ ขอบคุณล่วงหน้าครับ…ประเทศไทยในฝัน? ไม่มีคอรัปชั่น คำตอบอยู่ที่คุณ”
          จากนั้นเริ่มงานใหม่ที่ JWT มีผลงานสร้างสรรค์โฆษณาอย่างเช่น เบียร์เชียร์ ช็อกโกแลตคิดแคต แว่นท็อปเจริญ ฯลฯ เขายังทำของผลิตภัณฑ์เครื่องกีฬาระดับโลกอย่างอาดิดาส ที่ประเทศจีน ในช่วงการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 ที่ปักกิ่ง
          ด้านผลงานคอลัมนิสต์ เขียนให้กับนิตยสารอะเดย์ และหลังจากนั้นเริ่มมีตีพิมพ์รวมเล่ม โดยเฉพาะสารคดีท่องเที่ยวอย่าง โตเกียว ไม่มีขา (2547) กัมพูชาพริบตาเดียว (2548) เนปาลประมาณสะดือ (2549) สมองไหวในฮ่องกง (2550) และ นั่งรถไฟไปตู้เย็น (2551) และยังมีเขียนนวนิยายเรื่อง นวนิยายมีมือ (2550) และรวมบทความชื่อ อิฐ (2548) (2550) และ เพลงรักประกอบ ชีวิต (2551) เขายังได้เขียนเพลงร่วมกับ แสตมป์ อภิวัชร์ เอื้อถาวรสุข ในเพลง “ทฤษฎีสีชมพู”
          นอกจากนั้นเป็นพิธีกรรายการโทรทัศน์ทางช่องไทยพีบีเอส (รายการพื้นที่ชีวิต กับรายการเป็นอยู่คือ)


ผลงานเขียน

 

  • โตเกียวไม่มีขา (2547)
  • กัมพูชาพริบตาเดียว (2548)
  • เนปาลประมาณสะดือ (2549)
  • สมองไหวในฮ่องกง (2550)
  • นั่งรถไฟไปตู้เย็น (2551)
  • อาจารย์ในร้านคุกกี้ (2552)
  • ปอกกล้วยในมหาสมุทร (2552)
  • ฝนกล้วยให้เป็นเข็ม (2553)
  • บุกคนสำคัญ (2553)
  • สิ่งที่ค้นพบระหว่างนั่งเฉยเฉย อุนนุนหมายเลขหนึ่ง (2553)
  • สิ่งมหัศจรรย์ธรรมดา (2553)
  • ความสุขโดยสังเกต (2554)
  • กาลครั้งหนึ่งทุกสถานที่เคยมีความรัก อุนนุนหมายเลขสอง (2554)
  • ความรักเท่าที่รู้ (2554)
  • ตรวจภายใน (2555)

Haruki Murakami




          ฮะรุกิ มุระกะมิเกิดที่จังหวัดเคียวโตะ ประเทศญี่ปุ่นในปี 1949 แต่ไปโตที่เมืองโคเบะ พ่อและแม่ของมุระกะมิมีอาชีพเป็นครูสอนวิชาวรรณกรรมญี่ปุ่น
          ชีวิตในวัยเด็กของมุระกะมินั้นได้รับอิทธิพลอย่างสูงจากวัฒนธรรมตะวันตก โดยเฉพาะด้านดนตรีและวรรณกรรม เขาเติบโตขึ้นมาด้วยการอ่านวรรณกรรมทุกประเภทของนักเขียนตะวันตก ส่งผลให้ลักษณะงานเขียนของเขามีความแตกต่างจากนักเขียนญี่ปุ่นคนอื่นๆอย่าง ชัดเจน โดยงานเขียนญี่ปุ่นส่วนใหญ่นั้นจะให้ความสำคัญอย่างมากกับความงามของภาษา ทำให้เกิดรูปแบบการเขียนที่เข้มงวดและเย็นชาในบางครั้ง แต่งานเขียนของมุระกะมินั้นกลับมีรูปแบบที่เป็นอิสระและมีความลื่นไหล
มุระกะมิสำเร็จการศึกษาวิชาการละคร ภาควิชาวรรณคดี จากมหาวิทยาลัยวาเซดะใน มหานครโตเกียวซึ่งเป็นที่ที่เขาได้พบกับโยโกะ ภรรยาของเขา หลังจากสำเร็จการศึกษา มุระกะมิได้เปิดบาร์เล็ก ๆ ที่โตเกียว มีชื่อว่า ปีเตอร์ แคท (Peter Cat) โดยเล่นดนตรีแนวแจ๊ส (Jazz) อยู่เป็นเวลา 7 ปี ซึ่งส่งผลในดนตรีได้เข้าไปมีบทบาทสำคัญในงานเขียนของมุระกะมิอยู่สมอ

ไตร ภาคมุสิก


         มุระกะมิเริ่มเขียนนิยายเรื่องแรก Hear the Wind Sing ในปี 1979 เมื่อเขามีอายุได้ 29 ปี โดยได้รับแรงบันดาลใจอย่างฉับพลันและไม่คาดฝันมาจากการบรรยากาศในการนั่งชม การแข่งขันเบสบอลรายการหนึ่ง เขาใช้เวลาเขียนนวนิยายเรื่องนี้อยู่สองสามเดือน โดยใช้เวลาว่างหลังจากปิดร้านในการเขียน หลังจากเขียนเสร็จ เขาได้ส่งผลงานเรื่องนี้เข้าประกวดและได้รับรางวัลที่หนึ่ง ความสำเร็จตั้งแต่เรื่องแรกนี่เอง ที่เป็นแรงผลักดันให้เขาเขียนหนังสือเรื่อยมา โดยในปีถัดมา เขาได้ตีพิมพ์นิยายชื่อ Pinball, 1973 และตีพิมพ์ A Wild Sheep Chase ในปี 1982 ซึ่งทั้งหมดก็ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม นอกจากนี้ หนังสือทั้งสามเรื่องยังได้รวมตัวกันขึ้นเป็นไตรภาคที่มีชื่อว่า "Trilogy of the Rat" โดยมีตัวละครเชื่อมโยงทั้งสามเรื่องเข้าด้วยกัน อย่างไรก็ตาม ต้นฉบับที่แปลเป็นภาษาอังกฤษของนิยายสองเรื่องแรกของมุระกะมินั้นได้ขาดตลาด ไปนานแล้ว เนื่องจากเขาเห็นว่ามันไม่ดีพอที่จะได้รับการพิมพ์เพิ่มนั่นเอง

การ เดินทางไปสู่การเป็นนักเขียนผู้โด่งดัง


          ในปี 1985 มุระกะมิตีพิมพ์ผลงานชื่อ Hard-Boiled Wonderland and the End of the World ซึ่งเริ่มแสดงออกถึงองค์ประกอบที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวซึ่งปรากฏแต่ในงาน เขียนของเขา อันได้แก่เรื่องราวสุดโต่งเหนือจินตนาการนั่นเอง
          มุระกะมิเริ่มมาโด่งดังในระดับชาติในปี 1987 เมื่อเขาตีพิมพ์กับหนังสือเรื่องใหม่ที่ชื่อ Norwegian Wood ซึ่งมียอดจำหน่ายกว่าล้านเล่มในญี่ปุ่น ทำให้มุระกะมิกลายเป็นหนึ่งในนักเขียนที่มีชื่อเสียงที่สุดคนหนึ่งในประเทศ แต่นั่นกลับเป็นเหตุผลให้เขาเดินทางออกนอกประเทศ
          ในปี 1986 มุระกะมิตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวไปทั่วยุโรป ก่อนที่จะไปใช้ชีวิตอยู่ที่ สหรัฐอเมริกา ระหว่างที่มุระกะมิใช้ชีวิตเป็นอาจารย์อยู่ที่มหาวิทยาลัยในอเมริกานั้น เขาก็มีผลงานออกมาอีกสองเรื่อง คือ Dance, Dance, Dance และ South of the Border, West of the Sun
          ในปี 1994 มุระกะมิได้ส่งผลงานชื่อ The Wind-Up Bird Chronicle ออกสู่สายตานักอ่าน และนวนิยายเรื่องนี้ก็ได้รับการยกย่องว่าเป็นนวนิยายเรื่องที่ดีที่สุดของ เขาอีกด้วย ระหว่างนี้เองที่ญี่ปุ่นต้องเผชิญกับโศกนาฎกรรมแผ่นดินไหวที่โกเบ และเหตุการณ์ก่อการร้ายโดยใช้แก๊สโจมตีรถไฟใต้ดินของสาวกนิกายโอม ชินริเคียว ซึ่งหลังจากที่เขากลับมาที่ญี่ปุ่น เขาก็ได้เขียนสารคดีเกี่ยวกับสองเหตุการณ์ดังกล่าว ภายใต้ชื่อ Underground และ After the Quake
          นอกจากนี้เรื่องสั้นที่เขาเขียนระหว่างปี 1983 ถึง 1990 นั้นได้รับการรวมเล่มเป็นหนังสือชื่อ The Elephant Vanishes และมุระกะมิยังได้ทำการแปลผลงานของนักเขียนมากมายเป็นภาษาญี่ปุ่นอีกด้วย

ผลงานล่าสุด

          ผลงานนวนิยายขนาดสั้นชื่อ Sputnik Sweetheart ได้ถูกตีพิมพ์ในปี 1999 และผลงาน Kafka on the Shore ถูกตีพิมพ์ในปี 2002 และถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษในปี 2005 โดยผลงานแปลเป็นภาษาอังกฤษจากผลงานเรื่องล่าสุดของเขาที่ชื่อ After Dark ก็ออกวางจำหน่ายในปี 2007 นอกจากนี้เขายังมีผลงานรวมเรื่องสั้นที่ผสมผสานระหว่างผลงานเรื่องสั้นที่ เขาเขียนในช่วงปี 80 กับผลงานเรื่องสั้นล่าสุดตีพิมพ์ภายใต้ชื่อ Blind, Willow, Sleeping Woman ก็ได้ออกวางจำหน่ายในเดือนสิงหาคม 2006 มูราคามิได้ตีพิมพ์ What I talk about when I talk about running ซึ่งเป็นความเรียงกึ่งบันทึก เมือปี 2007 โดยได้แปลเป็นภาษาอังกฤษในปี 2008 และเป็นภาษาไทยในปี 2009 ในชื่อ "เกร็ดความคิดบนก้าววิ่ง"

นวนิยาย เรื่องใหม่จาก มูราคามิ: 1Q84

          ฮะรุกิ มูราคามิ ได้ออกผลงานนวนิยายเรื่องยาวอีกครั้งในปี 2009 ชื่อ 1Q84 โดยมีแผนที่จะออกทั้งหมด 3 เล่ม เล่ม 1 และเล่ม 2 ออกวางจำหน่ายฉบับภาษาญี่ปุ่นเมื่อเดือนพฤษภาคม 2009 ส่วนเล่มที่ 3 ออกจำหน่ายในเดือนเมษายน 2010 ส่วนฉบับแปลภาษาอังกฤษของ 1Q84 เล่ม 1-2 นั้นมีกำหนดการวางจำหน่ายในเดือนกันยายน 2011 โดยสำนักพิมพ์แรนดอมเฮาส์ ได้กำหนดผู้แปลไว้เรียบร้อยแล้ว โดย Jay Rubin จะแปลเล่ม 1 และ 2 ส่วนเล่ม 3 นั้นจะเป็นหน้าที่ของ Philip Gabriel สำหรับฉบับแปลภาษาไทย สำนักพิมพ์กำมะหยี่ได้ลิขสิทธิ์การแปลเล่ม 1-2 และ 3 เรียบร้อยแล้ว โดยจะเป็นการแปลจากต้นฉบับภาษาญี่ปุ่น

ข้อวิพากษ์วิจารณ์

          ผลงานของมุระกะมิมักถูกวิจารณ์ว่าเป็น วรรณกรรมป๊อปที่มี อารมณ์ขันและเรื่องราวเหนือธรรมชาติ ในขณะเดียวกันก็สะท้อนความรู้สึกแปลกแยก โดดเดี่ยว และการโหยหาความรักในทางที่สามารถเข้าถึงผู้อ่านในอเมริกา ยุโรป และเอเชียตะวันออกได้ งานของมุระกะมิมักกล่าวถึงการที่ญี่ปุ่นหมกมุ่นในลัทธิทุนนิยม ความว่างเปล่าทางจิตใจของผู้คนรุ่นเดียวกับเขา และผลกระทบด้านลบทางจิตใจของญี่ปุ่นที่ทุ่มเทให้กับงาน งานของเขาวิพากษ์วิจารณ์ความตกต่ำของคุณค่าความเป็นมนุษย์ และการขาดการติดต่อระหว่างผู้คนในสังคมทุนนิยมของญี่ปุ่น

ผลงาน

นวนิยาย


ปีชื่อญี่ปุ่นชื่ออังกฤษชื่อไทย
1979風の歌を聴け
Kaze no uta o kike
Hear the Wind Singสดับลมขับขาน
19801973年のピンボール
1973-nen no pinbōru
Pinball, 1973พินบอล, 1973
1982羊をめぐる冒険
Hitsuji o meguru bōken
A Wild Sheep Chaseแกะรอยแกะดาว
1985世界の終りとハードボイルド・ワンダーランド
Sekai no owari to hādoboirudo wandārando
Hard-Boiled Wonderland and the End of the Worldแดนฝันปลายขอบฟ้า
1987ノルウェイの森
Noruwei no mori
Norwegian Woodด้วยรัก ความตาย และหัวใจสลาย
1988ダンス・ダンス・ダンス
Dansu dansu dansu
Dance Dance Danceเริงระบำแดนสนธยา
1992国境の南、太陽の西
Kokkyō no minami, taiyō no nishi
South of the Border, West of the Sunการ ปรากฏตัวของหญิงสาวในคืนฝนตก
1992-1995ねじまき鳥クロニクル
Nejimaki-dori kuronikuru
The Wind-Up Bird Chronicleบันทึกนกไขลาน
1999スプートニクの恋人
Supūtoniku no koibito
Sputnik Sweetheartรักเร้นในโลกคู่ ขนาน
2002海辺のカフカ
Umibe no Kafuka
Kafka on the Shoreคาฟกา วิฬาร์ นาคาตะ
2004アフターダーク
Afutā Dāku
After Darkราตรีมหัศจรรย์
2009-20101Q84
Ichi-kyū-hachi-yon
1Q84หนึ่งคิวแปดสี่

สารคดี


ปีชื่อญี่ปุ่นชื่ออังกฤษชื่อไทย
1997アンダーグラウンド
Andāguraundo
Underground (1)ยังไม่มีการแปลเป็นภาษาไทย
1998約束された場所で
Yakusoku sareta basho de
Underground (2)ยังไม่มีการแปลเป็นภาษาไทย
2007走ることについて語るときに僕の語ること
Hashiru koto ni tsuite kataru toki ni boku no kataru koto
What I talk about When I talk about Runningเกร็ดความคิด บนก้าววิ่ง

รวมเรื่องสั้น


ปีชื่อญี่ปุ่นชื่ออังกฤษชื่อไทย
1983中国行きのスロウ・ボート
Chugoku yuki no Suroh Bohto
A Slow Boat To Chinaเรือเชื่องช้าสู่เมืองจีน
1984螢・納屋を焼く・その他の短編
Hotaru, Naya wo yaku, sonota no Tampen
Firefly, Barn Burning and Other Storiesเส้นแสงที่สูญหาย เราร้องไห้เงียบงัน
1986パン屋再襲撃
Pan-ya Saishuhgeki
The Second Bakery Attackคำสาปร้านเบเกอรี่
1996レキシントンの幽霊
Rekishinton no Yuhrei
Lexington Ghostsปีศาจแห่งเล็กซิงตัน
2000神の子どもたちはみな踊る
Kami no kodomo-tachi wa mina odoru
After the Quakeอาฟเตอร์เดอะเควก

หมายเหตุ: หนังสือรวมเรื่องสั้นเหล่านี้เป็นรายการเฉพาะเล่มที่ได้รับการแปลภาษาไทย แล้วเท่านั้น งานเรื่องสั้นของมุระกะมิยังมีอีกมากมายที่ยังไม่ได้แปลเป็นภาษาไทย

Beethoven

บีโธเฟน (Ludwig Van Beethoven)

ประวัติ ความเป็นมา
          ลุดวิก แวน บีโธเฟน (Ludwig Van Beethoven) อยู่ด้วย ความยิ่งใหญ่ของเขาไม่ได้ปรากฏอยู่ที่ผลงานการประพันธ์เพลงเท่านั้น แต่ประวัติชีวิตของคนที่ไม่ยอมแพ้แก่โชคชะตาของเขานั้นยิ่งใหญ่และเป็นที่ เล่าขานไม่แพ้ผลงานเพลงอันเป็นอมตะเลยทีเดียว

          เหมือนกับคีตกวีที่ ยิ่งใหญ่หลายคนที่มีเบื้องหลังชีวิตที่ขมขื่น บีโธเฟน เกิดที่กรุงบอนน์ (อดีตเมืองหลวงประเทศเยอรมนีตะวันตก) เมื่อปลายปี ค.ศ.1770 เป็นบุตรของนักร้องประจำราชสำนักแห่งกรุงบอนน์ นามว่า โยฮานน์ (Johann) มารดานาม Maria Magdalena ชีวิตในวัยเด็กของบีโธเฟน นั้นแสนขมขื่น ท่ามกลางความอัตคัด ขัดสนของครอบครัว พ่อนักร้องขี้เมา พยายามปั้นบีโธเฟนให้เป็น "โมสาร์ท สอง" โดยหวังจะให้ทำเงินหาเลี้ยงครอบครัว (บีโธเฟนเกิดหลังโมสาร์ท 15 ปี) พ่อสอนดนตรีบีโธเฟนน้อยวัย 4-5 ขวบ ด้วยการบังคับให้ฝึกหัดบทเรียนเปียโนที่ยาก ซึ่งถ้าเล่นไม่ได้ก็ทำโทษ เป็นที่คาดเดาในภายหลังว่า ที่บีโธเฟนยังรักดนตรีอยู่ได้ก็เพราะภาพลักษณ์ของคุณปู่ซึ่งเป็นนักร้อง ประจำราชสำนักที่ประสบความสำเร็จ

          โยฮานน์พยายามโปรโมตบีโธเฟนน้อย (อายุ 8 ขวบ) ให้เป็นเด็กนักเปียโนมหัศจรรย์อายุ 6 ขวบ แต่ผู้คนไม่ได้ให้ความสนใจนัก พอแผนการไม่ประสบผล โยฮานน์จึงเปลี่ยนจุดหมายให้บีโธเฟนเป็นนักดนตรีอาชีพให้เร็วที่สุด โดยจัดหาคนมาสอนดนตรีเพิ่มเติม อายุ ได้ 11 ขวบได้เข้าทำงานเป็นนักออร์แกน ผู้ช่วยประจำราชสำนัก อัจฉริยภาพของ บีโธเฟนน้อยได้ฉายแววให้เห็น ขณะที่บีโธเฟนทำงานเป็นนักดนตรีประจำราชสำนัก ก็ได้พยายามศึกษาเล่าเรียนดนตรีไปจนมีความสามารถด้านการประพันธ์เพลง ขณะเดียวกันก็พยายามศึกษาหาความรู้และพัฒนาความคิดอ่าน จากพื้นฐานความรู้เพียง ป.4 (Grade 4) ที่ได้เรียนมา เพื่อให้สามารถเข้าสังคมกับปัญญาชนและผู้มีอันจะกิน และเพื่อความก้าวหน้าในอนาคต พออายุได้ 17 ปี ได้รับการสนับสนุนจากผู้หลักผู้ใหญ่และ เพื่อนผู้มีอันจะกิน ให้มีโอกาสไปเยือนกรุงเวียนนาเป็นครั้งแรก มีคำบอกเล่าว่า บีโธเฟนได้แสดงฝีมือด้านเปียโนสดให้โมสาร์ทฟัง จนโมสาร์ทบอกกับคนรอบข้างให้จับตาดูคนนี้ไว้ และว่า วันหนึ่งเขา จะสร้างผลงานให้คนทั้งโลกกล่าวถึง บีโธเฟนอยู่ที่เวียนนาได้ไม่ถึง 2 อาทิตย์ก็ต้องรีบเดินทางกลับกรุงบอนน์เพราะได้รับข่าวว่าแม่ป่วยหนัก หลังจากที่แม่สิ้นชีวิตลง เขาต้องทำงานหนักเพื่อดูแลครอบครัว ซึ่งมีทั้งพ่อและน้องอีก 2 คน

          ปี ค.ศ.1792 ระหว่างทางที่โยเซฟ ไฮเดน (Joseph Haydn) ปรมาจารย์ทางดนตรีที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งยุค เดินทางกลับจากอังกฤษ ได้แวะเยี่ยมเยียนราชสำนักกรุงบอนน์ เป็นโอกาสที่บีโธเฟน ได้เข้าพบ และโชว์ผลงานการประพันธ์ดนตรี ไฮเดนทึ่งในความสามารถและเห็นแววอัจฉริยะของบีโธเฟน ได้เสนอให้ไปเรียนดนตรีที่กรุงเวียนนากับเขา ซึ่งแผนการนี้ก็เป็นจริงจากการสนับสนุนของหลายฝ่ายเมื่อปลายปี

          สัมพันธ ภาพระหว่างอาจารย์และศิษย์ต่างวัยเป็นไปได้ไม่ดีนัก ด้วยศิษย์เป็นหนุ่มไฟแรงอารมณ์ร้อน หยิ่ง และดื้อรั้น ตัวบีโธเฟนเองก็ไม่พอใจการสอนของไฮเดน แต่ก็ยังเกรงใจอาจารย์ผู้อาวุโส เขาจึงแอบย่องไปเรียนกับนักดนตรีผู้มีชื่อเสียงหลายคน โดยระหว่างนั้น บีโธเฟนเองก็มีชื่อเสียงโด่งดังในฐานะนักเปียโนที่มีความสามารถด้านเปียโนสด ได้เก่งที่สุดแห่งยุค ต่อจากโมสาร์ท ซึ่งสิ้นชีวิตไปแล้ว ชื่อเสียงและความสามารถในการเล่นเปียโนของ บีโธเฟน ทำให้ฐานะทางการเงินดีขึ้น แต่ เขายังไม่ได้แสดงผลงานเพลงออกสู่สาธารณะ เพราะอยู่ระหว่างฝึกวิทยาศิลป์ หลังจากจบการศึกษาดนตรีกับอาจารย์ ไฮเดนและอื่นๆ ในปี 1795 เขาได้แสดงผลงานเพลงและเริ่มสร้างชื่อเสียงในฐานะนักประพันธ์ดนตรีอย่างเต็ม ตัว ผลงานเพลงยุคแรกของบีโธเฟน จะมีรูปแบบคล้ายคลึงกับดนตรีของไฮเดน และโมสาร์ท แต่ก็ยังแฝงความเป็นบีโธเฟนอยู่ด้วย และได้รับการยอมรับจากสาธารณชนอย่างรวดเร็ว

          ผลงานช่วงนี้ของบีโธเฟน ที่น่าสนใจ ได้แก่ เปียโนทรีโอ 1 เปียโนโซนาตา 2 เปียโนโซนาตา 7 เปียโนโซนาตา 13 (Pathetique) เป็นต้น

          บีโธเฟนเป็นคนที่มีความทะเยอ ทะยานสูง หยิ่ง เจ้าอารมณ์ และรักเสรี ภาพเป็นชีวิตจิตใจ สาเหตุอาจมาจากความเก็บกดจากสภาพแวดล้อมในวัยเด็ก และบีโธเฟนมีชีวิตอยู่ในช่วงเดียวกับนโปเลียน เชื่อว่าเขาได้รับอิทธิพลจากเรื่องราวของนโปเลียนเป็นอย่างมาก เขามีแนวความคิดเป็นนักปฏิวัติทั้งในด้านดนตรีและความคิดทางสังคม เขามักได้รับการตำหนิจากปรมาจารย์อาวุโส ว่า แต่งเพลงแหกกฎเกณฑ์ทางดนตรีและออกนอกรีตนอกรอย บีโธเฟนไม่ฟังคำตำหนิเหล่านั้น ยังคงพัฒนาดนตรีไปตามแนวทางของตนอย่างเอาจริงเอาจัง โดยมีความใฝ่ฝันจะสร้างผลงานดนตรีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเท่าที่มนุษย์พึงสร้าง ได้ สิ่งที่บีโธเฟนกำลังทำอยู่คือการสอดแทรก ความรู้สึกนึกคิดและอารมณ์ของตนลงในดนตรี ซึ่งถือเป็นสิ่งผิดวิสัยในยุคนั้น (ที่เรียกว่า Classical period) ดนตรีขั้นสูงคือรูปแบบทางศิลปที่สมบูรณ์ สูงส่ง และอยู่เหนือความเป็นมนุษย์ แต่สิ่งที่บีโธเฟนกำลังทำอยู่นั้นกลับเป็นการพลิกโฉมหน้าของโลกศิลปการดนตรี และทำให้นักวิชาการด้านดนตรี ต้องตั้งชื่อยุคของดนตรีขึ้นใหม่ ที่เรียกว่า ยุคโรแมนติก (Romantic Period)

          การปฏิบัติตัวในสังคม บีโธเฟน ปฏิเสธการเป็นนักดนตรีในฐานะคนรับใช้ ของผู้มีอันจะกิน ทุกครั้งที่เขารับจ้างไปแสดงดนตรีในสถานที่ส่วนตัว เขาจะต้องได้รับการปฏิบัติดังเช่นแขกผู้ได้รับเชิญ ได้ร่วมโต๊ะอาหารกับเจ้าบ้าน ค่าจ้าง คือ สิ่งตอบแทนด้วยมิตรภาพ เขาจะแสดงความไม่พอใจออกมาอย่างไม่เกรงใจ ถ้าไม่ได้รับการปฏิบัติต่อเขาอย่างเหมาะสม

          บีโธเฟนประสบความสำเร็จใน ด้านการงานได้ไม่นาน เคราะห์กรรมก็กลับมาเยี่ยมเยือน เขาได้รับของขวัญส่งท้ายศตวรรษเก่าเข้าสู่ศตวรรษใหม่เป็นอาการหูหนวก เป็นเคราะห์กรรมที่น่าเกลียดยิ่ง สำหรับนักดนตรีที่กำลังฉายแววความยิ่งใหญ่

          หลัง จากที่บีโธเฟนตระหนักว่า อาการหูหนวกของเขาไม่สามารถจะรักษาได้และมีอาการรุนแรงจนถึงหนวกสนิท วันที่ 6 ตุลาคม ปี ค.ศ.1802 เขาได้เขียนจดหมายกึ่งลาตายกึ่งพินัยกรรม ถึงน้องชายทั้งสองของเขา แต่อีก 4 วันต่อมาก็เขียนอีกฉบับมีใจความล้มเลิกความคิด บีโธเฟนค่อยๆ รักษาแผลในใจ ที่เกิดจากเคราะห์กรรมที่ได้เผชิญ จนจิตใจเขาแข็งแกร่งกว่าที่เคย ดนตรีของเขาในช่วงนั้นจึงแสดงถึงเรื่องราวของฮีโร่ ความรู้สึกต่อชัยชนะ ธรรมชนะอธรรม และความยิ่งใหญ่ของความเป็นมนุษย์ ซึ่งก็ตรงกับชีวิตจริงของเขาที่แต่งเพลงสู้กับหูหนวก และยังได้ผลงานที่ยอดเยี่ยมฝากไว้ให้ชาวโลกสมความตั้งใจ

          ผลงานที่น่า สนใจในช่วงนี้ได้แก่ ซิมโฟนีหมายเลข 3 (Eroica) ซึ่งเดิม บีโธเฟนคิดจะอุทิศให้นโปเลียน แต่ภายหลังได้เปลี่ยนใจ เพราะผิดหวังที่นโปเลียนมีความทะเยอทะยานเกินขอบเขต ซิมโฟนีหมายเลข 5 ยอดนิยมตลอดกาล ซิมโฟนีหมายเลข 6 (Pastorale) ไวโอลิน คอนแซร์โต ในบันไดเสียง ดีเมเจอร์ และเปียโนคอนแซร์โต หมายเลข 5 (Emperor) เป็นต้น

          แม้ บีโธเฟนจะประสบความสำเร็จ ด้านดนตรีอย่างสูงสุด แต่ในเรื่องความรักเขานั้นห่างไกลนัก อกหักซ้ำซากเป็นเรื่องปกติ ด้วยความไม่คงเส้นคงวาเรื่องอารมณ์ เอาใจยาก และเข้าใจยาก ทำให้ สาวๆ ไม่กล้าเข้ามาใช้ชีวิตร่วมด้วย ถึงแม้ชีวิตจริงดูจะห่างจากความรักที่เป็นรูปธรรม แต่เขากลับได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งดนตรีโรแมนติก ท่านสามารถพิสูจน์ได้ ด้วยการฟังเพลง Piano Sonata หมายเลข 14 27 No.2 ("Moonlight") ท่อนช้า (Adagio Sostenuto) และเพลงเปียโนยอดนิยมตลอดกาล Fur Elise เป็นต้น

          ช่วง บั้นปลายของชีวิต พร้อมกับอาการหูหนวกสนิท เขากลายเป็นคนแก่อารมณ์ร้าย มีปัญหาทะเลาะเบาะแว้งกับ คนรอบข้างรวมทั้งน้องชายของเขาเอง ช่วงเวลานี้เขาผลิตผลงานออกมาไม่มากแต่ถือเป็นผลงานที่สำคัญยิ่ง เป็นดนตรีที่พัฒนาไปสู่จุดสูงสุดของความเป็นบีโธเฟนเต็มไปด้วยพลังความยิ่ง ใหญ่ ความซับซ้อนที่ยากจะหยั่งถึง เป็นดนตรี ที่ดังกระหึ่มอยู่ในตัวตนโดยปราศจากเสียงรบกวนใดๆ จากภายนอก ดนตรีใน ช่วงสุดท้ายของบีโธเฟน ที่สำคัญก็ได้แก่ ซิมโฟนีหมายเลข 9 ("Choral Symphony") เพลงสรรเสริญพระเจ้า Solemn Mass in D และ String Quartet หมายเลขท้ายๆ (127, 130-133, 135) เป็นต้น
          ปิดฉากชีวิตคีตกวีที่ยิ่ง ใหญ่ในวันที่ 26 มีนาคม ค.ศ.1827 ที่กรุงเวียนนาด้วยโรคตับ ซึ่งป่วยยืดเยื้อมาระยะหนึ่ง พิธีศพที่จัดขึ้นให้แก่เขานั้นยิ่งใหญ่ มีผู้คนร่วมงานนับหมื่นคน แม้ร่างกายเขาได้จากโลกนี้ไปแล้วกว่า 170 ปี แต่ผู้คนบนโลกในยุคสมัยต่อมาก็ยังคงเคารพ และยกย่องมิรู้ลืม เขายังคงเป็นสัญลักษณ์คีตกวีของโลกตลอดกาล และผลงานเพลงอันไพเราะที่เขาได้สรรค์สร้างไว้ก็ยังคงอยู่คู่โลกไปอีกนานเท่า นาน ลุดวิก แวน บีโธเฟน

Beethoven sonata

song: moonlight

winter's sonata


song: my memory

วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การศึกษากับเด็กนักเรียนโรงเรียนอำนาจเจริญ

การศึกษากับเด็กนักเรียนโรงเรียนอำนาจเจริญ  เป็นการศึกษาที่ศึกษาตามหลักสูตรการศึกษาปีพุทธศักราช 2551 เป็นการศึกษาที่พบได้ในชีวิตประจำวันของนักเรียนทั่วไป ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ  ที่รัฐบาลได้จัดตั้งขึ้น ตามหลักสูตรเรียนพรี 9 ปี อย่างมีคุณภาพ การศึกษาของโรงเรียนเป็นการศึกษาระดับชั้นมัธยมต้น  และมัธยมปลาย  เป็นการศึกษาภาคบังคับที่รัฐบาลจัดให้เรียนถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6

วันจันทร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2555

kiss the rain





                            ชื่อ   เด็กหญิง  สุธิดา    วิจิตรพงษ์
                                             ชื่อเล่น   กะทิ
                              ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/9    เลขที่ 6